AMD

                 วิวัฒนาการของ CPU (amd)

K5



หลัง จากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้

ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100 .. ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz

K6



เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหนายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน

K6-2



เป็น CPU ตัวใหม่ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่ 6 เช่นเดิม เปิดตัวในราวๆ พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งโดยสถาปัตยกรรมหลักๆ แล้ว ก็จะยังคงคล้ายๆ กับทาง K6 เดิม เพียงแต่ได้มีการเพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผล ด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า 3DNow! เข้าไว้ด้วย โดย CPU รุ่นนี้ ยังคงใช้ Cache ระดับ 2 ที่อยู่บน Mainboard เช่นเคย ทำงานที่ความเร็วเท่าๆ กับ FSB และมีขนาดตั้งแต่ 512K จนถึง 2MB มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถึงระดับความเร็ว 550 MHz แล้ว

Sharptooth (K6-III)



ก็เป็นรุ่น ที่มีการพัฒนาต่อจาก K6-2 อีกทีหนึ่ง โดยมาคราวนี้ ทาง AMD ได้จัดการเอา Cache ระดับ 2 รวมเข้าไว้ในตัว CPU เลย ด้วยขนาด 256 K ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU และยังคงใช้ได้กับ Interface แบบ Socket 7 เดิม เพราะฉะนั้นจึงมอง Cache ที่อยู่บน Mainboard เป็น Cache ระดับ 3 ( ซึ่ง K6-2 นั้นมองว่าเป็น Cache ระดับ 2 ) ไปโดยปริยาย ... ออกสู่ท้องตลาดเมื่อกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1999 มีออกมาจำหน่ายเพียง 2 รุ่น คือ 400 และ 450 MHz ... และปัจจุบัน ได้ยกเลิกสายการผลิต CPU Sharptooth นี้แล้ว


Thunderbird (Athlon)


หรือ เดิมมีชื่อเรียกว่า "Professional Athlon" ก็จะเป็น CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน โดยจะมี Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU ที่ขนาด 512K และเจ้า Thunderbird นี้ จะเป็น CPU ตัวสุดท้ายที่ใช้งานบน Slot-A โดยรุ่นแรกๆ นั้นจะยังคงใช้งานบน Slot-A แต่รุ่นต่อๆ มาจะหันไปใช้งานบน Socket A ซึ่งเป็น Interface ใหม่ของทาง AMD .. เปิดตัวรุ่นตัวอย่างเป็นครั้งแรกที่งาน ISSCC'2000 ( International Solid-State Circuits Conference ) ที่จัดขึ้นในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2000 นี้เอง ด้วยความเร็วที่นำมาแสดง คือ 1.1 GHz และคาดว่าจะเริ่มการจำหน่ายจริงๆ ในราวไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... จากข้อมูลล่าสุด พบว่าในรุ่นแรกที่วางตลาดนั้น จะมี Cache ระดับ 2 เพียง 256K และมี Cache ระดับ 1 ที่ขนาด 128K ... Thunderbird นี้ จะมีทั้งรุ่นที่ใช้งานกับ Slot-A และกับ Socket A ครับ


Palomino (Athlon)

Athlon รุ่นใหม่ ( Socket A ) ที่ยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Copper Interconnect ) แต่จะมีความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz เลยทีเดียว และหันมาใช้ FSB เป็น 266 MHz ( DDR ) นอกจากนี้ ก็ยังได้พัฒนา และ ปรับปรุงขึ้น จาก Thunderbird อีกมากมาย ทั้งเรื่องของ Branch Prediction หรือเรื่องของความร้อนในขณะทำงาน ที่ลดน้อยลงกว่าเดิม หรือเรื่องของ Hardware Prefetch นอกจากนี้ก็ยังได้ทำการ Optimize ในส่วนของแกนหลัก ทั้งพัฒนาในส่วนของ FPU ( หน่วยประมวลผลเชิงทศนิยม ) และ ALU ( หน่วยประมวลผลเชิงตรรก ) อีกด้วย.. คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิต ในต้นปีค.ศ. 2002 และเริ่มจำหน่ายจริง ในไตรมาสถัดไป แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจมากๆ ก็คงไม่พ้นข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับทาง AMD ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า เจ้า Palomino นี้ จะเป็น CPU ของ AMD ตัวแรก ที่เอาชุดคำสั่งของ Intel SSE หรือ Streaming SIMD Extension ( Katmai ) มาใช้ โดยที่เราๆ ท่านๆ ก็ได้ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าชุดคำสั่งดังกล่าว เป็นชุดคำสั่งที่ทาง Intel ได้จดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว ถ้า AMD จะมาใช้ก็ต้องเสียค่าหัวคิวให้กับทาง Intel ... แล้ว AMD นั้น เป็นคู่แข่งกับ Intel ... อย่างนี้ ก็ยิ่งน่าสนใจนะครับ

Thoroughbred (Athlon)

Athlon ในรุ่นถัดจาก Palomino ( Socket A ) ที่ลดขนาดของเทคโนโลยีการผลิตเหลือเพียง 0.13 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายในเช่นเดิม ( Copper Interconnect ) และมีความเร็วเริ่มต้นกันที่ 1.73 GHz เริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิตในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ ผลิตเป็น Production จริงๆ ในไตรมาสแรก ในปี ค.ศ. 2002

Barton (Athlon)

Barton นี้ เป็น Athlon ในรุ่นถัดจาก Thoroughbred จะใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.13 ไมครอน พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ SOI ( Silicon On Inulator ) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีก

Spitfire (Duron)
เป็น Athlon รุ่น Socket เพราะใช้งานบน Socket A ( Socket-462 ) เท่านั้น แต่เป็นรุ่นราคาต่ำ เพราะมีขนาดของ Cache ระดับ 2 ที่น้อยกว่า Thunderbird เหลือประมาณครึ่งหนึ่ง ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เช่นเคย คาดว่าจะมีจำหน่ายในราว ปลายๆมาสแรก หรือต้นๆ ไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้เช่นกัน ทั้ง Spitfire และ Thunderbird ในรุ่นแรกนี้ ยังคงผลิตด้วย Aluminium และยังคงใช้ Aluminium สำหรับทำหน้าที่เป็นตัว Interconnect ด้วย แต่ Thunderbird รุ่นใหม่ที่จะหันไปใช้งานบน Socket A นั้น จะใช้ Copper ( ทองแดง ) เป็นตัวต่อเชื่อมภายในที่เรียกว่า Copper-Interconnect แล้วละครับ

Duron

Appoloosa (Duron)
Duron ใน Generation ที่ 3 ( Socket A ) ... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 1 GHz และหันมาใช้เทคโนโลยีการผลิตลดลงด้วยขนาด 0.13 ไมครอน และใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกับ Athlon Throughbred ต่างกันแค่ขนาดของ Cache ระดับ 2 เท่านั้นละครับ คาดว่าจะเริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตหลังจาก Morgan ไม่นาน ( น่าจะเป็นไตรมาสที่ 2 ของปีค.ศ. 2002 ) และ เริ่มจำหน่าย ในไตรมาสถัดไป

Mustang
หรือ "Athlon Ultra" จะเป็น Athlon ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานระดับ Server/Workstation ใช้ Copper ในการผลิต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีขนาดของ Cache On-Chip ระดับ 2 ตั้งแต่ 1-2 MB เลยทีเดียว ใช้งานบนระบบ Bus แบบ DDR FSB 133 MHz ( ก็จะเหมือนว่าทำงานด้วย Bus 266 MHz ละครับ ) และรองรับหน่วยความจำแบบ DDR SDRAM 400 MHz ที่ใช้ช่องความกว้างของ Bandwidth ถึง 2.1 GB เลยทีเดียว .. และเหมือนๆ กับ Thunderbird คือ รุ่นแรกจะใช้งานบน Slot-A และรุ่นต่อมาจะย้ายมาใช้ Socket A แทน เดิมทีคาดว่าจะออกสู่ท้องตลาดได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2000 ... แต่ปัจจุบัน ได้ถูกทาง AMD เขี่ยออกจาก Roadmap ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วละครับ

SledgeHammer
หรือ K8 ... CPU 64 Bit ในสาย x86 ตัวแรกของทาง AMD ที่เรียกว่า x86-64 ... เป็น CPU ที่เน้นสำหรับใช้งานด้าน Server / Workstation ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน รองรับการใช้งานแบบ 4-8 way Multi Processor... นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้งานระบบบัสแบบใหม่ ที่เรียกว่า Lighting Data Transport หรือ LDT ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ EV6 และ/หรือ EV7 Bus ผนวกกับ เทคโนโลยี SOI หรือ Silicon On Inulator ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีกไม่น้อย คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างทดสอบในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2002 และเริ่มผลิตเป็น Production ในไตรมาสถัดไป

ClawHammer
CPU 64 Bit ( x86-64 ) ในตระกูลเดียวกันกับ SledgeHammer หากแต่เป็นรุ่นเล็กกว่า เนื่องจากลดขนาดของ Cache ภายใน และลดปริมาณการรองรับการใช้งานแบบ Multi Processor เหลือเพียงแค่ 1 หรือ 2 ทาง เท่านั้น (1-2 way) แต่รายละเอียดอย่างอื่น ก็จะเหมือนๆ กับ SledgeHammer ... ตัวนี้ ทาง AMD หมายจะเน้นมาใช้งานในตลาด Desktop PC ละครับ ... จะเริ่มสุ่มตัวอย่างทดสอบในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ จะเริ่มผลิตเป็น Production ในราวต้นปี หรือในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2001

นอก จากนี้ ยังมีข่าวอีกว่า ทาง AMD วางแผนจะใช้ชุดคำสั่ง SSE2 ที่เพิ่มเข้ามาใน Pentium4 อีก 144 คำสั่ง มาใช้อีกด้วย แต่ว่า จะใช้กับ CPU ในตระกูล Hammer ทั้งหลาย ได้แก่ ClawHammer และ SledgeHammerอีกด้วยละครับ

Phenom II X6



AMD นำเทคโนโลยี Turbo Core มาใช้งานร่วมกับ ซีพียู Phenom II X6 “Thuban” ซึ่งมีสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นที่ 3.3 GHz และบูสต์ได้สูงถึง 3.7 GHz ทำให้ประสิทธิภาพมันสูงกว่าตัว Deneb มาก ส่วนอีกรุ่นหนึ่งคือ Zosma เป็นซีพียู Quad-Core ที่รองรับ Turbo Core มันจึงทำงานได้เร็วกว่า Deneb และด้วยกระบวนการผลิตขนาด 45 นาโนเมตร ทำให้ Thuban และ Zosma ประหยัดพลังงานมากขึ้น

Fusion/Llano



โปรเจค Fusion ของ AMD ได้สำเร็จลุล่วงในเดือนกรกฎาคม 2011 และได้ทำการเปิดตัว APU โค้ดเนม Llano โดยซีพียูรุ่นนี้ เป็นการนำเอา Stream Processors ของ AMD Radeon สถาปัตยกรรม TeraScale 2 เข้าไปใส่ซีพียู K10 ซึ่งคล้ายกับตัว AMD Geode แต่ Geode นั้น จะเน้นกลุ่มราคาประหยัด แต่ Llano กลับมีจุดมุ่งหมายเพื่อเจาะกลุ่มที่ต้องการซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มันก็ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่ม High-end จริงๆ หรอกนะ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันไม่มีแคช L3 แถว iGPU ที่ใส่มาด้วยมันมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าไร จะเล่นได้ก็แต่เกมธรรมดา ที่มีกราฟิกไม่ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม APU Llano ก็ถือว่ามีความสมเหตุสมผลในเรื่องของราคาอยู่ในขณะนั้น

AMD Bobcat

เพื่อแข่งขันกับ Intel Atom และซีพียู ARM ทำให้ AMD ได้เปิดตัวซีพียูสถาปัตยกรรม Bobcat ในปี 2011 ด้วยความที่มันถูกออกแบบมาเพื่อการประหยัดพลังงาน ซีพีจึงมีสัญญาณนาฬิกาค่อนข้างต่ำ ตัวที่วิ่งเร็วสุดจะอยู่ที่ราวๆ 1.75 GHz ทั้งนี้ Bobcat ยังมี iGPU ที่มี Stream Processors 80 Unit ด้วยนะ

AMD Bulldozer Zambezi



ในเดือนตุลาคม ปี 2011 AMD ได้ปล่อยซีพียูสถาปัตยกรรม K10 ในโค้ดเนม Bulldozer โดย AMD พยายามดันความเร็วของสัญญาณนาฬิกา และเพิ่มจำนวนหัวประมวลผลให้มากขึ้น เพื่อแข่งขันกับ Intel Sandy Bridge อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของมันแทบไม่แตกต่างไปจาก Phenom II X6 ด้วยเหตุที่โครงสร้างแบบ Multi-Core Module (MCM) ใน Bulldozer มี Integer Core 2 แกน และ FPU 1 Unit ทำให้ Integer Core ที่มันมีอยู่ 2 แกน ต้องแชร์กันใช้ FPU ที่มีอยู่แค่ 1 Unit มันเลยเกิดปัญหาการทำงานล่าช้า แถมซีพียูยังร้อนและกินไฟ Bulldozer จึงแพ้ Sandy Bridge ไปในที่สุด

AMD Piledriver Trinity และ Richland



หลังจกาที่ Bulldozer ออกสู่ตลาดได้ไม่นาน AMD ได้นำโครงสร้างมาปรับแต่งใหม่ แล้วออกตัว Piledriver เข้าสู่ตลาดแทน ซึ่ง Piledriver นั้น จะเป็น APU Trinity ที่เพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาอีก 10% ส่งผลให้ประสิทธิภาพของีพียูเพิ่มขึ้นถึง 15% โดยที่ไม่กินไฟเพิ่ม ในส่วนของ iGPU นั้น Trinity ใช้สถาปัตยกรรม TeraScale 3 ซึ่งถอดแบบมาจาก AMD Radeon HD 6900 นั่นทำให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลภาพ มันดีกว่า Llano เป็นอย่างมาก ส่วน Richland เป็นส่วนที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมของ Piledriver โดยมันมีสัญญาณนาฬิกามากกว่า Trinity และกินไฟน้อยกว่า ร้อนน้อยกว่า โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบ Trinity และ Richland ในซีพียูที่ใช้กับอุปกรณ์พกพา พบว่า Richland นั้น ทำงานได้ดีขึ้นกว่ามาก

AMD Steamroller – GCN APU



ในปี 2014 AMD ได้ปรับปรุง APU ใหม่อีกครั้ง โดยใช้สถาปัตยกรรม Streamroller ซึ่งอยู่ในกระบวนการผลิตขนาด 28 นาโนเมตร ช่วยให้ซีพียูมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาเพิ่มขึ้น และทำงานเข้ากันได้กับ iGPU ที่ใส่เข้าไป พร้อมทั้งแคช L1 ที่มีขนาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สัญญาณนาฬิกามันไม่ได้สูงกว่าตัว Richland เท่าไรนัก ประสิทธิภาพในการประมวลผลจึงไม่ค่อยต่างกัน ทางด้านของกราฟิก ได้รับการปรับปรุงให้ดีมากขึ้น มีขนาดทรานซิสเตอร์ที่เล็ก และ Shader มากขึ้น อีกทั้งยังรองรับ HSA (ช่วยให้ซีพียูและ iGPU ใช้บัสเดียวกัน ลดปัญหาคอขวด และความล่าช้าในการส่งข้อมูล), TrueAudio DSP ของ AMD เอง และรองรับ PCIe 3.0 ด้วย โดย Streamroller ตัวแรกคือ Kaveri ถัดมาจึงเป็น Godavari ซึ่งตัวหลังจะมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาเพิ่มขึ้น

Ryzen


สำหรับ Ryzen นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่นใหญ่คือ Ryzen 7/5/3 โดยตรงนี้ผมขอให้ข้อมูลเฉพาะตัวท็อปก่อนนะครับ คือ Ryzen 7 1800X ที่เป็นซีพียู 8 Cores / 16 Threads มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นที่ 3.6 GHz และสามารถเพิ่มขึ้นได้สูงถึง 4.1 GHz ตามงานที่ต้องประมวลผล เจ้าหัวประมวลผล 8 แกนเนี่ย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนคั่นด้วยแคช L3 8 MB และแต่ละแกนจะคั่นด้วยแคช L2 512 KB + L1 data 64 KB + L1 instruction 64 KB รวมทั้งหมดได้ 16 MB ซึ่งซีพียู Ryzen นี้ จะมีความสามารถในการเรียนรู้คำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ และจัดเก็บไว้ใช้ในครั้งถัดไป ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น สำหรับการใช้งานนะครับ Ryzen จะใช้งานร่วมกับชิปเซต AM4 และรองรับการทำงานร่วมกับแรม DDR4 ที่มีบัสสูงๆ ได้ และที่สำคัญคือ ทุกรุ่นสามารถ Overclock ได้ทุก Core ครับ


: ที่มา
https://www.extremepc.in.th/amd-cpu-history-1/
https://sites.google.com/a/sau.ac.th/cpu-online/home/bth-thi-4-wiwathnakar-khxng-cpu-amd

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPU MOS6502 - intel core 2 duo

ตาราง i3- i9